“ไทย สมายล์ บัส” เปิดตัวรถเมล์ไฟฟ้าร้อน นำร่องวิ่ง 10 เส้นทาง 6 พ.ย.นี้
เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ที่อาคาร NT Bangrak Building (อาคารโทรคมนาคมแห่งชาติ บางรัก 72 ถนนเจริญกรุง) น.ส.กุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด (TSB) แถลงข่าว CEO Meet The Press ครั้งแรก เพื่ออัปเดตข้อมูลธุรกิจในเครือ ตลอดจนการดำเนินงานไตรมาส 1-3 ปี 66 พร้อมแลกเปลี่ยนมุมมองการให้บริการรถโดยสาร (รถเมล์) พลังงานสะอาด และการเสริมฟีดเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าใหม่ ของ บริษัท ไทย สมายล์ โบ้ท ให้บริการประชาชน
น.ส.กุลพรภัสร์ เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้เปิดตัวรถเมล์ไฟฟ้าราคาประหยัด หรือ “รถ EV สีส้ม” ขนาด 8 เมตร รองรับผู้โดยสารไม่เกิน 30 คนต่อคัน ค่าโดยสาร 10 บาทตลอดสาย ซึ่งบริษัทฯ มีแผนจัดหาทั้งสิ้น 60 คัน ใช้วงเงินลงทุน 450 ล้านบาท หรือตกคันละ 7.5 ล้านบาท เพื่อนำไปเสริมการเข้าถึงบริการขนส่งมวลชนให้ครอบคลุมพื้นที่ต่าง ๆ มากขึ้น โดยวันที่ 6 พ.ยคำพูดจาก เกมสล็อตทดลองเล่น. 66 เป็นต้นไป จะนำร่องเฟสแรกให้บริการ 10 เส้นทาง ได้แก่ 1.สาย 4-26 (167 เดิม) เคหะธนบุรี-สถานีรถไฟฟ้าสวนลุมพินี จำนวน 5 คัน 2.สาย 2-35 (110 เดิม) ประชานิเวศน์ 3-เทเวศร์ จำนวน 5 คัน 3.สาย 1-13 (126 เดิม) ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ-คลองตัน จำนวน 6 คัน 4.สาย 1-44 (113 เดิม) มีนบุรี-หัวลำโพง จำนวน 8 คัน 5.สาย 1-45 (115 เดิม) สวนสยาม-บางรัก จำนวน 6 คัน 6.สาย 1-15 (150 เดิม) ท่าเรือปากเกร็ด-มีนบุรี จำนวน 6 คัน 7.สาย 1-6 (52 เดิม) ท่าเรือปากเกร็ด-หมอชิตใหม่ จำนวน 5 คัน 8.สาย 2-8 (51 เดิม) วัดปรางค์หลวง-บางเขน จำนวน 5 คัน 9.สาย 4-51 (124 เดิม) หมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา-สนามหลวง จำนวน 6 คัน และ 10.สาย 4-63 (547 เดิม) หมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา-ถนนตก จำนวน 8 คัน
คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการ 1,000 คนต่อวัน หลังจากนั้น จะศึกษาผลตอบรับเพื่อนำไปพัฒนาการให้บริการต่อไปในอนาคต สำหรับ รถ EV สีส้ม ที่นำมาให้บริการนี้ เป็นไปตามนโยบายของภาครัฐ ที่มีกำหนดนโยบายว่า เอกชนผู้ได้รับใบอนุญาต ต้องดำเนินการจัดหาให้มีรถร้อน ออกให้บริการประชาชนเพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย ซึ่งรถ EV สีส้ม จะเป็นคันแรกของโลกกว่าได้ เพราะบริษัทฯ ได้นำรถโดยสารปรับอากาศ (รถแอร์) มาดำเนินการให้เป็นรถโดยสารธรรมดา (รถเมล์ร้อน) ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบเทคโนโลยีเพิ่มเติม ประมาณ 500,000 บาทต่อคัน เพื่อไม่ให้เครื่องปรับอากาศ (แอร์) ออกมาภายในห้องโดยสาร
น.ส.กุลพรภัสร์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ บริษัทฯ ใช้เงินลงทุนทำธุรกิจประมาณ 30,000 ล้านบาท เพื่อจัดหารถเมล์ไฟฟ้าจำนวน 3,100 คัน มีต้นทุนคันละ 7,000,000 บาท ปัจจุบันมีรถให้บริการแล้ว 2,200 คัน จากขั้นต่ำตามเงื่อนไขที่ใบอนุญาตประกอบการเดินรถของกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) กำหนดอยู่ที่ 1,500 คัน และ ที่เหลืออีก 900 คัน จะบรรจุให้ครบ 3,100 คัน ช่วงกลางปี 67 โดยบริษัทฯ เปิดให้บริการรถเมล์ไฟฟ้า มาตั้งแต่ ต.ค. 65-ปัจจุบัน 1 ปีกว่า ปัจจุบันมี 123 เส้นทาง ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีผู้โดยสารใช้บริการ 250,000-280,000 คนต่อวัน มีรายได้ 5,000,000-6,000,000 บาทต่อวัน หรือตกวันละ 3,000 บาทต่อคันต่อวัน ขณะนี้ผู้โดยสารทยอยใช้บริการต่อเนื่อง อนาคตตั้งเป้าผู้โดยสารใช้บริการเพิ่ม 500,000-1,000,000 คนต่อวัน มีรายได้ 14,000,0000-15,000,000 บาทต่อวัน หรือเฉลี่ย 6,500 บาทต่อคันต่อวัน
ทั้งนี้ จำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการปัจจุบันยังถือว่าต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้ ทำให้ธุรกิจยังประสบปัญหาขาดทุนอยู่ประมาณ 200 ล้านบาทต่อเดือน โดยตั้งเป้าว่าจะคืนทุนภายในอีก 5 ปี (ปี 69-70) เนื่องจากการประชาสัมพันธ์การให้บริการรถเมล์ไฟฟ้าไม่มากนัก ขณะเดียวกันประชาชนยังคุ้นชินกับการใช้บริการรถเมล์แบบเดิม ยังไม่คุ้นชินกับรถเมล์ไฟฟ้า เพราะเป็นระบบใหม่ที่นำมาให้บริการ นอกจากนี้หมายเลขรถเมล์ยังมีส่วนที่ทำให้ประชาชนสับสนและไม่ใช้บริการ เพราะประชาชนจดจำแต่หมายเลขรถเมล์แบบเดิมที่เป็นตัวเลข ไม่จดจำหมายเลขรถเมล์ที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรตามที่ ขบ. ได้ทำแผนปฏิรูปรถเมล์ไว้ ซึ่งบริษัทฯ พยายามแก้ไขปัญหา โดยติดหมายเลขรถเมล์เดิมและรถเมล์ใหม่คู่กัน เพื่อให้ประชาชนจดจำได้ง่ายขึ้น และให้พนักงานประชาสัมพันธ์เส้นทางตรงจุดจอดรถเมล์ขนาดใหญ่ สร้างการรับรู้ให้ผู้โดยสารมากขึ้น
น.ส.กุลพรภัสร์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ไทยสมายล์บัสได้รับเรื่องร้องเรียนการใช้บริการอย่างต่อเนื่อง จากเดิมที่เปิดให้บริการใหม่ๆ มีการร้องเรียนประมาณ 2,000 เรื่องต่อเดือน ปัจจุบันลดเหลือ 1,000 เรื่องต่อเดือน ซึ่งบริษัทฯ พยายามแก้ไขอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกมากที่สุด ซึ่งข้อร้องเรียนต่างๆ เช่น รถน้อย คอยนาน ไม่มีรถกะดึกและรถกะสว่างบริการนั้น ซึ่งบริษัทฯ มีรถให้บริการตลอด 24 ชม. รวมทั้งพยายามเพิ่มจำนวนรถ และจำนวนเที่ยววิ่งบริหารจัดการให้สอดคล้องกับผู้โดยสารมากที่สุด เพื่อลดปัญหาต่างๆ
รวมทั้งข้อร้องเรียนพนักงานขับรถ และพนักงานเก็บค่าโดยสารที่มีมาตรฐานไม่ดีเท่ารถเมล์ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นั้น ปัจจุบันบริษัทฯ มีพนักงาน 6,000 คัน เป็นพนักงานขับรถ 2,500 คน พนักงานเก็บค่าโดยสาร 2,500 คน และพนักงานท่ารถเมล์และ พนักงานออฟฟิศ 1,000 คน ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ ลงทุนสร้างศูนย์ฝึกอบรมครบวงจร ที่จะปั้นพนักงานขับรถ “กัปตันเมล์” รุ่นใหม่เข้ามาให้บริการด้วยมาตรฐานที่ยกระดับขึ้น ทั้งยังปรับสิทธิประโยชน์รายได้ของพนักงานให้สอดคล้องกับพฤติกรรม นอกจากนี้ บริษัทได้เริ่มทดลองใช้ระบบ Fleet management ซึ่งเป็นระบบที่ใช้กำกับการเดินรถ สามารถตรวจการเข้าป้าย ความเร็ว ปริมาณผู้โดยสารบนรถ ไปจนถึงการตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ขับขี่-พนักงานผู้ให้บริการ จึงขอให้มั่นใจว่า การบริการของ TSB จะปรับปรุงแก้ไข พัฒนาบริการให้ดียิ่งขึ้นในทุกมิติ เพื่อให้ได้มาตรฐานเท่าเทียมกับผู้ประกอบรถเมล์รายอื่นๆ เพื่อลดข้อร้องเรียนต่างๆ และป้องกันการกระทำผิดในการให้บริการ
ส่วนกรณีบัตร HOP Card ที่พัฒนาขึ้นมานั้น เพื่อใช้เป็นทางเลือกให้ผู้โดยสารที่ต้องการความสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง คือบัตร HOP Card สามารถจ่ายค่ารถเมล์ไฟฟ้าราคา 40 บาทตลอดทั้งวัน นั่งรถเมล์ของไทยสมายล์บัสได้ไม่จำกัดสายและจำกัดเที่ยว โดยยืนยันว่าไม่ได้บังคับให้ผู้โดยสารซื้อบัตร HOP Card ซึ่งปัจจุบันผู้โดยสารสามารถใช้บริการรถเมล์ของไทยสมายล์บัส โดยจ่ายค่าโดยสารได้ทั้งเงินสดและบัตร HOP Card ส่วนกรณีรถผิดกฎหมายวิ่งทับเส้นทางของไทยสามยล์บัส ปัจจุบันยังพบปัญหาเส้นทางทับซ้อนอยู่ 38 เส้นทาง โดย 5 เส้นทาง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะเลิกให้บริการ 1 พ.ย. นี้ ส่วนอีก 33 เส้นทาง เป็นของรถร่วม ขสมก. ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจากับ ขบคำพูดจาก ทดลองปั่นสล็อต. หาทางออก เพื่อให้เป็นไปตามแผนปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ 1 เส้นทาง 1 ผู้ประกอบการ
นอกจากนี้ บริษัทฯ มีแผนจัดหาเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าจำนวน 44 ลำ เพื่อให้บริการประชาชนในแม่น้ำเจ้าพระยา ใช้วงเงินลงทุน 1,500-1,600 ล้านบาท หรือ 32-33 ล้านบาทต่อลำ ปัจจุบันมีเรือไฟฟ้าให้บริการ 35 ลำ ส่วนอีก 9 ลำ จะทยอยจัดหาเรือให้ครบตามแผนต่อไป ปัจจุบันให้บริการเรือไฟฟ้า จำนวน 3 เส้นทางในแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ City Line เส้นทางสาทร-พระปิ่นเกล้า และเส้นทางพระปิ่นเกล้า-สาทร, Metro Line เส้นทางพระราม 7-วัดวรจรรยาวาส และ Urban Line เส้นทางพระนั่งเกล้า-สาทร และเส้นทางสาทร-พระนั่งเกล้า ขณะนี้ผู้โดยสารที่ใช้บริการอยู่ที่ 5,000 คนต่อวัน มีรายได้ 100,000 บาทต่อวัน และแนวโน้มคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งเป้าจำนวนผู้โดยสารในอนาคตอยู่ที่ 20,000 คนต่อวัน มีรายได้ 500,000 บาทต่อวัน
ทั้งนี้ บริษัทฯ พยายามยกระดับบริการเรือไฟฟ้าให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้โดยสารมากสุด ล่าสุดมีการเสริมฟีดเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า รูปแบบใหม่ ขนาด 19 เมตร เป็นเรือ Catamaran พลังงานสะอาด 100% บรรทุกผู้โดยสารได้ 150 คน/เที่ยว ซึ่งมีความแตกต่างในทางกายภาพจากเรือรูปแบบเดิมของบริษัท ด้วยขนาดที่กะทัดรัดคล่องตัวมากขึ้น เหมาะที่จะเดินเรือในเส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยาได้ในทุกสภาพอากาศแม้ช่วงน้ำขึ้น ซึ่งจะเข้าไปบริการในเส้นทาง Urban และ City Line ก่อนในช่วงแรก แล้วจึงขยายไปเส้นทาง Metro Line ตามความต้องการของผู้โดยสารในแต่ละเส้นทาง สร้างความสะดวกสบายให้แก่ผู้เดินทาง โดยเฉพาะช่วงชั่วโมงเร่งด่วน คาดว่าจะสามารถเพิ่มความถี่ให้บริการได้ ทุก 7-10 นาที พร้อมทั้งยังสามารถให้บริการกับลูกค้าองค์กร เช่น การเช่าเหมาลำ การวิ่งตามฟีดเส้นทาง หรือเรือนำเที่ยว ได้อีกด้วย