Search for:
  • Home/
  • Sports News/
  • เลือกตั้ง 2566 – กกต.แจงดราม่าเก็บบัตร ปชช. เป็นการสมัครสมาชิกพรรค ไม่เข้าข่ายความผิด

เลือกตั้ง 2566 – กกต.แจงดราม่าเก็บบัตร ปชช. เป็นการสมัครสมาชิกพรรค ไม่เข้าข่ายความผิด

จากกรณีมีการแชร์ข้อมูลในโลกออนไลน์ ระบุว่า มีชาว จ.อำนาจเจริญ แจ้งข้อมูลที่น่าสงสัยเกี่ยวกับการเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะ พบว่ามีการเก็บบัตรประชาชนของชาวบ้านที่มาฟังการปราศรัย พร้อมกับมีการเปิดภาพ บัตรประชาชนจำนวนมาก ถูกนำมากองไว้ มีเครื่องสำหรับเสียบบัตรประชาชนเข้ากับคอมพิวเตอร์ มีเจ้าหน้าที่นั่งดำเนินการอยู่ ขณะที่อีกภาพ เป็นภาพประชาชนนั่งฟังการปราศรัยอยู่ในอาคาร และมีรูปหัวหน้าพรรคการเมืองหนึ่ง ทำให้ถูกตั้งคำถามว่าเป็นการเก็บบัตรประชาชนเพื่อดึงข้อมูลส่วนตัวหรือไม่

เลือกตั้ง 2566 : จี้ กกต.สอบ ปมเก็บข้อมูลบัตร ปชช. หวั่นนำไปสู่การผิดกฎหมายเลือกตั้ง

เลือกตั้ง 2566 : กกต.ประกาศงดออกเสียงเลือกตั้งใน "ซูดาน" เหตุปะทะยังไม่คลี่คลาย

เลือกตั้ง 2566 : กกต.โคราช ส่งชุดเคลื่อนที่เร็วตรวจสอบ คลิปแจกเงิน-ซื้อเสียง?

ทีมข่าวลงพื้นที่ไปที่วัดเหล่าแก้วอัมพวัลย์ ต.โคกกลาง อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ พบว่า น่าจะเป็นจุดปราศัรยจริงตามที่ถูกระบุ เพราะสภาพพื้นที่ เสาร์ และพื้น รวมถึงหลังคาเหมือนกับภาพที่ถูกแชร์ในออนไลน์ โดยพระรักษาการณ์แทนเจ้าอาวาส บอกว่า พรรคพลังประชารัฐ มาขอใช้พื้นที่ปราศรัยนโยบายจริง แต่ไม่ทราบเรื่องการเก็บบัตรประชาชน เพราะ ไม่ได้ขึ้นมาดูพื้นที่ นอกจากนั้นทีมข่าวถามชาวบ้านหลายคนในพื้นที่ ทุกคนบอกว่า ไม่รู้

ด้านนายนวัต บุญศรี ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำจังหวัดอำนาจเจริญ บอกว่า ทราบเรื่องจากโลกออนไลน์แล้ว เมื่อตรวจสอบพบว่า ภาพ ที่ถูกแชร์กันมีหลายภาพ โดยแยกออกเป็น 2 ชุด คือ ชุดที่ลงพื้นที่ปราศรัยที่วัด กับ ภาพเก็บบัตรประชาชน ตรวจสอบแล้วพบว่า ภาพนี้เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 10 ก.พ.66 เป็นกิจกรรมพรรคพลังประชารัฐ เปิดรับสมัครสมาชิก ที่วัดหินหนองแคน ต.ดงมะยาง อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ ยืนยันว่าไม่เข้าข่ายความผิดใดใดคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

 เลือกตั้ง 2566 - กกต.แจงดราม่าเก็บบัตร ปชช. เป็นการสมัครสมาชิกพรรค ไม่เข้าข่ายความผิด

อย่างไรก็ตาม สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ยังได้ออกเอกสารข่าวชี้แจงกรณีดังกล่าวด้วยว่ากรณีที่ปรากฏภาพข่าวการซื้อบัตรประชาชนที่จังหวัดอำนาจเจริญ นั้น สำนักงาน กกต. ขอเรียนว่า ได้ดำเนินการตรวจสอบแล้วปรากฏว่า ภาพการรวบรวมบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าวนั้น เป็นการดำเนินการเพื่อกรอกข้อมูลในฐานข้อมูลการสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 หลังจากบันทึกข้อมูลเสร็จแล้วได้คืนบัตรประจำตัวประชาชนให้กับประชาชน ที่มาร่วมกิจกรรม และภาพที่ปรากฏเป็นการนำภาพต่างเวลาต่างสถานที่รวมเป็นเรื่องเดียวกัน จึงขอยืนยันว่าข่าวดังกล่าวคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง